เมนู

ผู้ฉลาด. กาลที่ภิกษุเหล่านั้นอันพระตถาคตให้ทำการยึดถือจากรูป แล้วให้
ตั้งอยู่ในอรูป เหมือนเวลาที่หมอร่ายมนต์แล้วไล่ยาพิษไว้ข้างบน กาลที่ภิกษุ
เหล่านั้นอันพระตถาคตให้นำการยึดถือจากอรูป แล้วให้ตั้งอยู่ในรูป เปรียบ
เหมือนเวลาที่หนอไม่ให้พิษที่แล่นขึ้นข้างบนจนถึงขอบตา แล้วไล่ลงด้วย
กำลังมนต์อีก แล้วตั้งไว้ในที่ ๆ ถูกอสรพิษกัด พึงทราบกาลที่พระศาสดา
ทรงเริ่มเทศนานี้เพื่อนำการยึดถือออกจากอารมณ์ทั้ง 2 ฝ่าย เปรียบ
ทำลายยาพิษที่หยุดไว้ในที่ถูกอสรพิษกัดด้วยการทายาขนานเยี่ยม.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ พระองค์ตรัส
เหมือนการมรรค. ด้วยบทว่า วิราคา วิมุจฺจติ ตรัสผล. ด้วยบทว่า
วิมุตฺตสฺมึ เป็นต้น ตรัสปัจจเวกขณญาณ.
จบอรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ 1

2. อัสสุตวตาสูตรที่ 2



ว่าด้วยร่างกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง 4



[235] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้
มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ใน
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่ายกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต
เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าจิตเป็นต้นนี้ อัน
ปุถุชนผู้มิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น
ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้น
นั้นไม่ได้เลย.
[236] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไป
ยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ โดยความเป็นตน
ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ เมื่อ
ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง
ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่า
ร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกกายอันเป็นที่ประชุมแห่ง
มหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคือและในกลางวัน.
[237] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกได้สดับ ย่อมใสใจด้วย
ดีโดยแยบคายถึงปฏิจจสมุทบาทธรรม ในกายและจิตที่ตถาคตกล่าว
มานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนา เพราะ
ผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย

ผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็น
ปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอัน
เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอัน
เป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น
เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ
จึงสงบไป.
[238] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันครูดสีกันจึงเกิด
ไออุ่น เกิดความร้อน แต่ถ้าแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกเสียจากกัน
ไออุ่นซึ่งเกิดจากการครูดสีกันนั้น ก็ดับไป สงบไป แม้ฉันใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุข-
เวทนาขึ้น เพราะผัสสะอัน เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้น จึงดับ จึง
สงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนา
ขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิด
ขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุข จึงเกิด
อทุกขมสุขเวทนานั้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น
ดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่ง
อทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน.

[239] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณา
อยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในผัสสะ ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่าย
แม้ในสัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น
แล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว และย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล.
จบอัสสุตวตาสูตรที่ 2

อรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ 1



ในอัสสุตวตาสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. บทว่า ผสฺสํ
ได้แก่จักขุสัมผัสเป็นต้น. ถามว่า ก็จักขุสัมผัสไม่เป็นปัจจัยแก่สุขเวทนา
มิใช่หรือ. แก้ว่าไม่เป็นปัจจัยโดยสหชาติปัจจัย แต่เป็นปัจจัยแก่ชวนะ
เวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาคำนั้น. แม้ในโสต-
สัมผัสเป็นต้น ก็นัยนี้. บทว่า ตชฺชํ ได้แก่เกิดแต่เวทนานั้น คือสมควร
แก่ผัสสะนั้น. อธิบายว่า สมควรแก่ผัสสะนั้น. บทว่า ทุกฺขเวทนียํ
เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า สงฺฆฏสโมธานา
ได้แก่โดยการครูดสีกันและการรวมกัน อธิบายว่า โดยการเสียดสีและการ
รวมกัน. บทว่า อุสฺมา ได้แก่อาการร้อน. บทว่า เตโช อภินิพฺพตฺตติ
ความว่า ไม่ควรถือเอาว่า ลูกไฟย่อมออกไป. ก็บทว่า อุสฺมา นี้ เป็น